เชื่อว่าใครหลายๆ คนที่ไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น คงมีโอกาสได้ไปเห็น เจ้าหญิงขี้อาย ฟูจิซัง จากระยะไกล ระยะใกล้ กันมาบ้างแล้ว…..(แต่นางขี้อายมากจริงๆ ถ้าอากาศไม่ดี ถึงจะไปใกล้ๆ ก็แห้วได้ตลอด ปีนึง มีไม่กี่วันที่จะได้เห็นแบบชั้นเจ๋วแหวว ไม่มีเมฆมาบดบัง)  จะมีสักกี่คน ที่ได้ปีนขึ้นไปถึงบนยอดภูเขาไฟฟูจิ

ทีมงาน Backpack Buddy by Travelpro  ได้ส่งตัวแทนไปกับการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ขึ้นไปสัมผัสยอดฟูจิร่วมกับ คุณลุง Yoshinobu Jitsukawa อายุ 71 ปี ผู้พิชิตยอดฟูจิมาแล้ว มากว่า 1,673 ครั้งแล้ว ณ วันที่ร่วมเดินทางไป

เส้นทางที่ใช้เป็นทางขึ้น ฟูจิ โนะมิยะ (Fujinomiya)

ช่วงเวลาที่เหมาะสม :  ในฤดูร้อน กรกฎาคม-สิงหาคม ช่วงเวลาที่พีคสุดๆ คือช่วงวันหยุดปิดเทอม ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ไปจนถึงสิ้นเดือน สิงหาคม (โดนเฉพาะเทศกาล โอบ้ง 13-16 สิงหา ที่คนญี่ปุ่นกลับบ้านไปไหวบรรพบุรุษกัน ถึงกะต้องเข้าคิวรอปีนเลยทีเดียว )    หากอยากหลีกเลี่ยงคนจำนวนมาก แนะนำให้ไปก่อนปิดเทอม คือ ต้นเดือน ก.ค. (2 สัปดาห์แรก) ค่ะ  ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่หิมะละลาย อากาศไม่หนาวเย็นมาก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ปีนขึ้นไปที่ระดับความสูงขนาดนั้น อุณหภูมิต่ำกว่าข้างล่างแน่ๆ  0-10 C. โดยประมาณ ที่ระดับความสูงต่างๆกัน  สภาพอากาศ อาจจะมีลมแรง แดดออก มีหมอก ฝนตก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

พอช่วงกันยา คนอาจจะเริ่มน้อย อากาศหนาว พวก public transportation จะน้อยลง ไม่มีถี่ทุกๆ วันแบบช่วงพีค
ช่วงเดือนตุลา ถึงมีนา อากาศหนาวขึ้นอีก มีหิมะ ลูกเห็บ และลมที่แรงมากๆๆ นักท่องเที่ยวที่มิได้ปีนเป็นอาชีพอย่างเรา จึงไม่ควรเสี่ยงอย่างยิ่ง

Admission Fee : 1000 เยนต่อคน

การเตรียมพร้อม  :

ร่างกาย
ควรออกกำลังกาย เน้นกล้ามเนื้อ ขา น่อง ล่วงหน้าสัก 1 เดือนเป็นอย่างน้อย เช่น เดิน หรือวิ่ง  เดินขึ้นลงตึกโดยไม่ใช้ลิฟท์  (ซ้อมแบกเป้ มีน้ำหนักไปด้วยก็ดี)

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • ไฟฉาย head lamp   คงไม่มีใครอยากเดินทุลักทุเล ปีนเขาแล้วมือนึงส่องไฟฉายหรอกเนอะ
  • ถุงขยะ ส่วนตัว ไม่มีถังขยะ ระหว่างทาง ควรเตรียมไปเองด้วย
  • รองเท้า เนื่องจากพื้นเป็นพื้นหิน ภูเขาไฟ เป็นกรวดๆ จึงควรเตรียมรองเท้าสำหรับเดิน ปีนเขา ที่ มีประสิทธิภาพ หุ้มข้อ พื้นแข็ง ป้องกันข้อเท้า  (เพราะอาจจะลื่นไถล)
  • เสื้อผ้า ควรเน้นเป็น layer ช่วงที่เดินเยอะ อาจจะไม่ต้องใส่หนามาก  เหงื่อแตกเวลาเดิน หยุดเดินก็หนาว ต้องการความคล่องตัว  เลือกเสื้อผ้าที่สามารถกันลม  ได้ดี  บนยอด summit  อาจจะอุณหภูมิ ต่ำลงถึง 0 องศา
  • เตรียมเสื้อกันฝน หรือเสื้อที่สามารถกันฝนได้ในตัวเดียวกันจะดีมาก เพราะบนภูเขา อากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
  • ถุงมือที่ช่วยป้องกันความหนาว และช่วยป้องกันเวลาลื่นได้ (หินคมมาก ถ้าลื่นมือเปล่าอาจจะโดนหินบาดมือ)
  • แว่นกันแดด
  • Trekking Pole  ถ้ามีใช้ก็ดี จะช่วยผ่อนแรงในการเดิน
  • น้ำและอาหาร อาจจะมีขายระหว่างทางบ้าง แต่ราคาจะสูงขึ้น  เช่น ขวด  500 ml  อาจจะราคาประมาณ 300-500 เยนบนยอด summit
    ญี่ปุ่นนี่คงคอนเซป ไม่ว่าจะอยู่กลางป่า กลางเขายังไง มีตู้กดน้ำตลอดๆ แต่ราคาแพงขึ้น 3-4 เท่า
  • ลูกอม ขนมขบเคี้ยวที่ให้ความหวาน รวมไปถึง Energy bar สามารถไปซื้อที่ญี่ปุ่นได้  เช่นที่ร้าน L-breath ย่านชินจุกุ หรือ Bicqlo ชั้นบนสุด มีขายอุปกรณ์เดินป่า ปีนเขา)  แต่ละชั้น จะมีจุดพัก ร้านขายของ และที่พัก

ความยากในการเดิน :

ไม่ถือว่ายากมาก ไม่ต้องใช้สกีลขั้นสูงในการเดิน แต่บางจุดเส้นทางจะเป็นหินกรวด ซึ่งอาจจะลื่น ไถล  ลมแรง อุปสรรคสำคัญ คือ สภาพอากาศ ออกซิเจนที่เบาบางลงขณะปีน

เวลาในการเดิน :

แนะนำให้กินข้าวเที่ยงให้เสร็จสรรพ วอร์มอัพ เริ่มปีนตอน บ่ายโมง ขึ้นไปประมาณชั้น 7-8-9  ประมาณ 6 โมงเย็น  ความสูงจะอยู่ที่ 3000 กว่าเมตร เหนือระดับน้ำทะเล  ใช้เวลาพักผ่อน กินอาหารเย็น ชมวิว ดูทีวี จัดสัมภาระ (ไม่มีน้ำให้อาบ)  ไฟจะปิดประมาณ 2 ทุ่ม  นอนเรียงๆ กันเป็นตับ (ลืมมาตรฐานญี่ปุ่นแบบปกติไปได้เลย) อาจจะมีอาการ ALS  (Altitude Sick) นอนไม่หลับ เพราะสภาพอากาศที่เบาบาง มึนหัว หายใจลำบาก ปวดกระบอกตา ปวดขมับ หน้ามืด กันไปตามระเบียบ
ตื่นตอนตี 2  กินอาหารเสบียงที่เตรียมมา รองท้อง ออกเดินทางต่อ ตอน 2.15 เพื่อขึ้นไปชั้นสูงสุด (1 กม. /1 ชม.)  ถึง  summit  ประมาณ ตี 4 เพื่อรอดูพระอาทิตย์ขึ้น

ข้อควรระวัง :

สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดัน หัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนขึ้น
ตั้งแต่ชั้น 6 ขึ้นไป ความสูงจะเกิน 2500 เมตร เริ่มมีผลกับสภาพร่างกาย  ควรระมัดระวังสุขภาพ

The Trails  :

เส้นทางการปีน  มีทั้งหมด 10 ชั้น  ตอนที่ทีมงานเราไป  เราให้รถไปส่งที่ชั้น 5 สิ้นสุดทางที่รถสามารถจะขึ้นไปได้ และเริ่มปีนจากตรงนั้น  ที่ชั้น 5  นี้ มี station สำหรับปีน ตามจุดต่างๆ ของฟูจิ ทั้งหมด 4 แห่ง

Fuji Subaru Line 5th Station (Yamanashi Prefecture)

Altitude: about 2300 meters

Ascent: 5-7 hours

Descent: 3-5 hours

มีที่จอดรถบัส  มีร้านค้า ร้านอาหารหลายร้านที่ชั้น 5  เป็นจุดสุดท้ายให้นักท่องเที่ยวได้กักตุน เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนออกเดินทาง มีล็อคเกอร์เก็บของ  มีที่พักระหว่างทางหลายแห่ง

เส้นทางเดินไม่ค่อยยากมากนัก
ทำให้ผู้คนคนนิยมขึ้นเส้นทางนี้กัน
สามารถเดินขึ้นตอนกลางคืน และ ไปถึงยอดเขาตอนเช้า (เริ่ม ทุ่มนึง และไปเช้าด้านบน แต่ร่างกายต้องฟิตจริงๆนะ) หรือถ้าเดินไม่ถึง ก็ยังสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นได้ ระหว่างทาง เพราะหันเข้าหาทิศตะวันออก

ขาขึ้นใช้เวลา 5-7 ชม.

ขาลงใช้เวลา 3-5 ชม.

นอกจากนี้ ยังมี Ochudo Trail  เส้นทางเดิน  5 กิโลเมตร สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการปีนเขา ได้เดินเที่ยวชมธรรมชาติ

Yoshida Trail2Yoshida Trail1

Credit รูปจาก http://www.japan-guide.com/e/e6901.html

การเดินทางมา Fuji Subaru Line 5th Station
จากสถานี คาวากุจิโกะ (Kawaguchiko Station)  เป็นเส้นทางขึ้นเดียวที่มีรถบัสวิ่งตลอดทั้งปี ใช้เวลา 50 นาที  เที่ยวเดียว 1540 เยน  ไป-กลับ 2100 เยน
ฤดูกาล high season ก.ค.-ส.ค. จะวิ่งวันละ 11-16 เที่ยวต่อวัน แต่ถ้าทั่วไป จะวิ่งวันละ 5 เที่ยวต่อวัน

 

ตารางการเดินรถ http://www.japan-guide.com/bus/fuji_season.html

Subashiri 5th Station (Shizuoka Prefecture)

Altitude: about 2000 meters

Ascent: 5-8 hours

Descent: 3-5 hours

Gotemba 5th Station (Shizuoka Prefecture)

Altitude: about 1400 meters

Ascent: 7-10 hours

Descent: 3-6 hours

Fujinomiya 5th Station (Shizuoka Prefecture)

Altitude: about 2400 meters

Ascent: 4-7 hours

Descent: 2-4 hours

เส้นทางนี้ มีที่จอดรถน้อย มีร้าน service ที่ชั้น 5 เพียง แค่ร้านเดียว ด้านล่าง ค่อนข้างเงียบ

สำหรับผู้ที่สนใจ…ติดตาม Trip ในปีหน้าไปด้วยกัน…..ปูเสื่อรอได้ที่เฟสบุ๊ค Backpack Buddy เลยนะจ๊ะ….

รูปภาพเพิ่มเติมดูได้ที่ Japan Photo by Travel Pro

Comments

comments